จำนวนคนดู : 159
เลือกอ่านตามหัวข้อ
Add a header to begin generating the table of contents
เกริ่นนำ
จากสถานการณ์โควิด-19 เป็นผลพวงทำให้หลายคนไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ หรือเจ้าของธุรกิจเองได้เห็นถึงปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนในเรื่องของการเงินที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เหตุนี้จึงทำให้หลายคนต้องเตรียมตัว วางแผนทางการเงิน ให้ดี ให้กับตัวเอง ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้
เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน TRD เพิ่งมีโอกาสได้ฟังแนวทางในการบริหารการเงินยุคใหม่ จาก โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์ ผู้เป็นเจ้าของเพจ The Money Coach ที่ได้ให้แง่คิด “วัคซีนการเงินที่จะเปลี่ยนชีวิตคุณไปตลอดกาล” ที่จะเป็นประโยชน์และทำไปปรับใช้สำหรับโลกการเงินในยุคปัจจุบัน
สรุปข้อคิด 10 วัคซีนการเงินเปลี่ยนชีวิต
เข็มที่ 1 หาเงินให้เพียงพอกับที่ต้องการใช้
” หาให้พอใช้ ไม่ใช่บีบ และประหยัดไม่ให้เกินที่หาได้ “ ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ค่าครองชีพที่สูงขึ้น รายได้เท่าเดิม เราไม่สามารถบอกให้ทุก ๆ คน ลดค่าใช้จ่าย ใช้ให้ต่ำกว่ารายได้มันอาจจะเป็นไปไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นโจทย์ยุคใหม่ลองดูว่าชีวิตเรามีความจำเป็นที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันเท่าไหร่ อย่างไร คิดแบบมีเหตุมีเหตุผล แล้วก็พยายามหาเพิ่มให้เพียงพอเลี้ยงดูชีวิตเราได้
เข็มที่ 2 หารายได้มากกว่า 1 ทาง
” รายได้ทางเดียวถือเป็นความเสี่ยง ” จากสถาการณ์โควิด-19 ถือเป็นสัญญาณเตือนที่ชัดเจนว่าทำไมต้องหารายได้เพิ่ม การหารายได้เพิ่มในที่นี้ โค้ชหนุ่มกล่าวว่า ไม่ได้มองไปถึงความร่ำรวย แต่จุดประสงค์คือ เราควรดูแลตัวเองในแบบที่ไม่เสี่ยง ยุคนี้ต้องหารายได้เพิ่มอีกหนึ่งทาง ถ้ามีทางเดียวต้องเริ่มคิดหารายได้เพิ่ม
เข็มที่ 3 สะสมทรัพย์สิน สร้าง Passive income
ทำงานถึงได้เงิน ไม่ทำงานไม่ได้เงิน หมดยุครายได้ที่มีแต่ Active Income จากสถาการณ์โควิด-19 ก็ทำให้เห็นแล้วว่าถ้าวันนึงสุขภาพเราเกิดเป็นอะไรขึ้นมา ต้องหยุดงานยาว นั่นหมายความว่า Active Income ของเราจะหายไป ดังนั้นต้องตะหนักถึงการสร้าง Passive Income ให้มากขึ้น เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ส่วนแบ่งกำไร ต่าง ๆ ในระหว่างนี้อาจจะต้องเริ่มทบทวนว่าระหว่างที่เราทำงาน เรามีการสร้างทรัพย์สินอะไรไว้ไหม สามารถทำให้เป็น Passive Income ได้หรือไม่
Active สร้างคุณค่า Passive ช่วยผ่อนแรง เราอยากจะมีความสุขทางด้านการเงิน จะต้องมีทั้ง 2 อย่างนี้
เข็มที่ 4 สภาพคล่อง คือ ลมหายใจ
” ทุกครั้งที่ตัดสินใจเรื่องเงิน นึกถึงสภาพคล่องเป็นอันดับแรก “ เรื่องสภาพคล่องถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ในเรื่องการวางแผนการเงิน เพราะฉะนั้นการจะตัดสินใจอะไรในใหญ่ ๆ เรื่องเงิน ๆ ทอง ต้องมองสภาพคล่องเป็นหลัก ถ้าเกิดปัญหาเราพร้อมจะจัดการมันหรือไม่? ถามตัวเองว่า เสี่ยงไปไหม? ถ้าพลาดแล้วไหวหรือเปล่า? หากตัดสินใจผิดจังหวะไม่วางแผนให้ดี เงินที่มีไม่พอใช้ถือว่าสภาพคล่องเสียหาย
เข็มที่ 5 หลีกหนีจากการเป็นหนี้บริโภค
” หนี้มีได้ แต่อย่าเป็นหนี้บริโภค “ หนี้บริโภค มีอะไรบ้าง เช่น หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล ผ่อนของนอกระบบ เป็นต้น ให้ระวังการติดหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่จ่ายหนี้บัตรเครดิตด้วยอัตราขั้นต่ำ ผลที่ตามมา คือ หนี้คงค้างจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากดอกเบี้ยบัตรเครดิตสูง 17% และบัตรกดเงินสดสูงถึง 24% เลยทีเดียว ถ้าเป็นเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน เพราะภาระหนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น คิดให้ดีก่อนจะก่อหนี้บริโภค
เข็มที่ 6 อย่าไว้ใจวันข้างหน้า พร้อมรับความเสี่ยงอยู่เสมอ
เราน่าจะได้บทเรียนสำคัญกันไปว่า วันนึงในชีวิตเราก็ต้องเจอสถานการณ์แบบโควิด-19 อีก ซึ่งเราไม่สามารถไปคาดการณ์ได้ว่าจะมาอีกเมื่อไหร่ เพราะฉะนั้นในวันที่ชีวิตดี อาจจะไม่ได้เป็นแบบนี้เสมอไป ดังนั้นในเรื่องของเงินสำรองต้องมีไว้สม่ำเสมอ คิดหาวิธีการจัดการความเสี่ยง เช่น ประกันสุขภาพ หรือถ้ามีแหล่งรายได้อย่างเดียวก็อาจจะมองเพิ่มเติม
อย่าคิดว่าเรื่องโชคร้ายจะไม่เกิดกับเรา อย่ามองโลกในแง่ดีกับเรื่องที่มีความเสี่ยง
เข็มที่ 7 เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ
โลกในยุคต่อจากนี้ เรื่องของการเงินจะผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจะต้อเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับลงทุน ในหุ้น กองทุน หรือสินทรัพย์ดิจิตอล ต่าง ๆ โดยเราเองต้องเปิดใจใช้เวลาในการศึกษาหาความรู้เป็นประจำ ไม่ยึดติดหรือยืนกรานที่จะไม่เรียนรู้อะไร เพราะโลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไวเสมอ คนที่ปรับตัวเร็วเท่านั้นที่จะอยู่รอด
เข็มที่ 8 ระวังการลวงทางการเงิน
“ไม่รู้ + โลภ + มักง่าย = สูญเสีย” ระวังมิจฉาชีพที่จะมาหลอกเอาเงินเราไปเพราะความไม่รู้ของเรา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการลงทุน หรือ ข่าวลวงต่าง ๆ ในยุควิกฤติแบบนี้มักจะมีผู้ไม่หวังดีมาหลอกลวงด้วยผลตอบแทนที่ได้มาง่าย ๆ ลงทุนน้อย ๆ อยู่เสมอ ดังนั้นก็ต้องระมัดระวังไม่หลงเชื่อ ตั้งข้อสังเกตอยู่เสมอ ใช้วิจารณญาณอย่างมีสติ ไม่ไปยุ่งกับสิ่งที่ไม่รู้โดยเด็ดขาด
เข็มที่ 9 ควบคุมอนาคตการเงินของตัวเอง
ไม่ตามกระแสหรือหลงเชื่อ แล้วไปลงทุนตามคนอื่นในเรื่องที่เรารู้เกี่ยวกับมันอย่างแท้จริง สิ่งที่ควรทำคือ ศึกษาหาความรู้ทางด้านการเงินด้วยตนเองอย่างจริงจัง แล้วรับผิดชอบเงินลงทุนของตัวเองให้ดี ถ้าเกิดปัญหาก็ต้องลงมือแก้ไขปัญหาเอง พยายามควบคุมปัญหาด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นเงินของเรา เราต้องควบคุมให้ได้ ยกระดับความรู้ความสามารถของเราให้ควบคุมเงินได้ ไม่ใช้ให้เงินควบคุมชีวิตเรา
เราเจอปัญหา เราแก้ปัญหา เราผ่านปัญหา เราเก่งขึ้นฉลาดขึ้น พร้อมจะเจอปัญหาที่ใหญ่ขึ้น