คิดเครดิตภาษีเงินปันผลผ่าน iTAX

คำนวณเครดิตภาษีเงินปันผล ง่ายๆ ผ่านแอป iTAX กรณีมีรายได้เงินปันผลจากหุ้น

เลือกอ่านตามหัวข้อ
    Add a header to begin generating the table of contents

    เกริ่นนำ

    ช่วงนี้นักลงทุนหลาย ๆ ท่านก็คงทยอยยื่นภาษีประจำปีกันแล้ว แต่รู้หรือไม่ ในกรณีที่เราลงทุนในหุ้นและได้รับเงินปันผล เราสามารถขอ เครดิตภาษีเงินปันผล ได้ หรือพูดง่าย ๆ คือ ขอภาษีเงินปันผลคืนนั่นเอง

    เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร

    เครดิตภาษีเงินปันผล เป็นสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นสามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรได้ โดยปกติแล้ว บริษัทจะต้องเสียภาษี 20% ของกำไรสุทธิ ก่อนที่จะมาคำนวณเงินปันผล หมายความว่าเราจ่ายภาษีไปแล้ว 20% (แต่ก็มีบางบริษัทที่ได้รับการยกเว้น จากการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ) และกฏหมายยังบังคับอีกว่า ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ก่อนจ่ายปันผล นั้นหมายความว่าเราโดนหักภาษี 2 รอบทำให้เกิดการ เสียภาษีซ้ำซ้อน ดังนั้นนักลงทุนจึงมีสิทธิ์ขอ “เครดิตภาษีเงินปันผล” คืนจากสรรพากรได้นั่นเอง
    ตัวอย่างเช่น บริษัท TRD มีกำไร 100 บาท ต้องจ่ายภาษีเงินได้ 20% (20บาท) ก็จะเหลือกำไรสุทธิ 20 บาท สำหรับจ่ายเงินปันผลให้นักลงทุน จากนั้น สมมติว่า บริษัท TRD จ่ายเงินปันผล 80 บาท
    นักลงทุนที่ได้รับเงินปันผล ก็ต้องจ่ายภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% ทำให้เหลือเงินปันผลมาถึงมือนักลงทุนค่ 72 บาทนั่นเอง

    สูตรการคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผล

    หุ้นปันผลที่จ่ายให้กับนักลงทุนที่เสียภาษีไปแล้ว หากต้องการได้ภาษีส่วนนั้นคืน มีสูตรคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผลว่า ตนเองจะได้รับเงินภาษีคืนเท่าไร ดังนี้

    เครดิตภาษีเงินปันผล = (มูลค่าปันผล x อัตรภาษีเงินได้นิติบุคค) / (100 - อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล) ⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀

    วิธีคิดเครดิตภาษีเงินปันผลผ่าน iTAX

    สิ่งที่ต้องเตรียม
    1. ข้อมูลเงินปันผลจาก TSD
    2. ดาวน์โหลดแอป iTAX
    การคำนวณหาเครดิตปันผล นั้น ไม่ยาก สามารถคำนวณตามสูตรได้เลย แต่วันนี้เราจะมาแนะนำแอปพลิเคชั่นที่ใช้คำนวณภาษี ง่ายจบในแอปเดียว นั้นก็คือ iTAX
    แต่ก่อนที่นำมาคำนวณ ท่านต้องไปเอาข้อมูล เงินปันผลที่ได้รับทั้งปีมาก่อน สามารถโหลด ได้จาก Investor Portal (TSD) Investor Portal (tsd.co.th) ถ้าใครยังไม่มี แนะนำให้สมัครไว้เลย เพราะว่าเป็นแหล่งรวมรวมสิทธิประโยชน์ของหุ้นที่เราถืออยู่ สามารถดูย้อนหลังได้ 3 ปี
    ขั้นตอนการดาวน์โหลด ข้อมูลปันผล จาก TSD
    พอเข้ามาแล้วจะเป็นหน้าตาแบบด้านล่างนี้ ให้เลือกไปที่ ไฟล์ยื่นภาษี หลักจากนั้นก็เลือก ปีภาษีที่ต้องการ แล้วเลือกไฟล์ excel และกดดาวน์โหลดได้เลย จากนั้นท่านจะได้รับข้อมูลเงินปันผลของปีที่เลือกไว้ทั้งหมด
    ขั้นตอนการอัปโหลดไฟล์ข้อมูลปันผลลงใน iTAX
    พอได้ไฟล์มาแล้ว ก็เข้ามาที่แอป iTAX หลังจากนั้นก็กด Start แล้วเลือกเงินปันผล > ดึงข้อมูลจาก TSD > เลือกไฟล์ที่เราโหลดมา
    หลังจากนั้น ข้อมูลก็ถูกดูดเข้ามาในระบบทันที และคำนวณภาษีเครดิตให้อัตโนมัติเลย
    หมายเหตุ : ยอดเงินปันผล 39,940 บาท เป็นยอดเงินปันผลที่รวมจากบริษัทที่ได้เสียภาษีเครดิต 20% และบริษัทที่ได้รับการยกเว้น แต่หากนำมาคำนวณเครดิตภาษี จะคิดจากยอด 31,690 บาท คำนวณเฉพาะบริษัทที่เสียภาษีเครดิต 20% ตามไฟล์ข้อมูลปันผลที่ดาวน์โหลดออกมาเท่านั้น 

    ตัวอย่างการคำนวณเครดิตภาษีเงินปันผล

    ตัวอย่าง
    เงินเดือนรวมทั้งปี 400,000 บาท
    หัก ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท
    เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 300,000 บาท
    เงินปันผล 39,940 บาท
    บวก เครดิตเงินคืนภาษี 7,922.5 บาท
    บวก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3,994 บาท 
     ค่าลดหย่อน
    หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 60,000 บาท
    ประกันชีวิต 20,000 บาท
    บริจาคทั่วไป 2,000 บาท
    หมายเหตุ : เครดิตเงินคืนภาษีคำนวณจาก (31,690 x 20) / (100-20) = 7,922.5 บาท เงินปันผลที่คำนวณเฉพาะบริษัทที่เสียภาษีเครดิต 20% ส่วน ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผลคำนวณจาก 39,940 x 10% = 3,994 บาท
    หลังจากนั้นให้กดสรุปผล แอป iTAX จะคำนวณทุกอย่างมาให้เรียบร้อย 
    จากตัวอย่างจะพบว่า ในตอนแรกจากยอดเสียภาษี 5,793.13 บาท แต่เมื่อหักลบกับภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว 3,994 บาทและเครดิตภาษีอีก 7,922.50 บาท ทำให้เราไม่ต้องชำระภาษีเพิ่มและยังได้เงินคืนจากกรมสรรพากรอีกจำนวน 6,123.37 บาท 
    ดังนั้น จึงควรใช้วิธียื่นเครดิตภาษีเงินปันผลคืน สำหรับใครที่คำนวณแล้วถูกหักไปเกิน แนะนำให้ไปขอคืน แต่ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านไม่ได้ใส่ข้อมูลของรายได้ของตนเองตกหล่น ดังนั้น

    ควรนำเงินปันผลมาขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนหรือไม่

    ให้พิจารณาจาก ฐานภาษีเงินได้ของนักลงทุน เปรียบเทียบกับ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ของบริษัทที่นักลงทุนได้รับเงินปันผล
     
    ฐานภาษีเงินได้ > อัตราภาษีเงินได้ของบริษัท
    ไม่ควร ใช้เครดิตภาษีเงินปันผล”

     

     
    ฐานภาษีเงินได้ < อัตราภาษีเงินได้ของบริษัท
    ควรใช้ เครดิตภาษีเงินปันผล”

     

    ถ้าหากผู้ลงทุนท่านใดคำนวณแล้ว เงินได้สุทธิฐานภาษีมากกว่า อัตราเครดิตภาษีของบริษัทก็ไม่ควรยื่น ถ้าโดยทั่วไป จะถูกหักภาษีอยู่ที่ 28 % (20% จากภาษีนิตบุคคล, 10%หักณที่จ่าย) ถ้าดูจากอัตราภาษีแล้ว บุคคลที่มีเงินได้สุทธิเกินกว่า 2 ล้านบาทก็ไม่ควรยื่นขอเครดิตภาษีจากเงินปันผล เพราะจะทำให้คุณเสียภาษีมากขึ้น 
    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องตรวจเช็คให้ดี ว่าเงินปันผลทุกตัวถูกหักเดรดิตภาษีไหม เพราะบางบริษัทก็ได้รับการยกเว้น และแต่ละบริษัทก็หักภาษีไม่เท่ากัน ดังนั้น ก็อาจจะไม่มีการหักภาษีนิติบุคคลเลยก็ได้ หรือหัก 30% 25% 10% เพราะฉะนั้นผู้ลงทุน ควรพิจรณาจากฐานภาษีของนักลงทุน และอัตราเครดิตภาษีของบริษัทที่เราได้รับเงินปันผล และถ้าเลือกที่จะยื่นขอเครดิตเงินคืน ก็ต้องยื่นเงินปันผลทุกรายการที่ได้ในรอบปีนั้น ๆ จะไม่สามารถเลือกเฉพาะเจาะจงหุ้นรายตัวได้
    เป็นอย่างไรบ้างจากบทความข้างต้น TRD หวังว่าข้อมูลที่เรานำเสนอจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณายื่นภาษีเงินปันผลหลาย ๆ ท่าน ที่กำลังหาข้อมูล และสุดท้ายนี้อย่าลืมไปใช้สิทธิกันนะครับ เพราะภาษีที่ถูกหักไปก็เยอะอยู่ถ้าหากคิดเป็น % สามารถนำเงินก่อนนั้นมาทำกำไรทบต้นไปก็น่าจะไม่น้อยเลยทีเดียว
    ขอบคุณที่ติดตาม

    Leave a Comment

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

    Scroll to Top