The Best Fluffy Pancakes recipe you will fall in love with. Full of tips and tricks to help you make the best pancakes.

ทำความรู้จัก ใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน IC License คืออะไร?

ทำความรู้จักกับใบอนุญาต IC License และอาชีพผู้แนะนำการลงทุนมีกี่ประเภท แนะนำอะไรได้บ้าง ต้องสอบอะไรยังไงไปดูกันเลย

ใบอนุญาต IC License (Investment Consultant) คืออะไร สำคัญยังไง ทำไมต้องมี ทำไมต้องสอบ ?

และทั้งหมดที่ต้องสอบหลาย ๆ Paper เนี่ย ใช้ทำอะไรได้บ้าง ? เรามารู้จัก IC License ไปพร้อมกันกับ The Richest Duck กันดีกว่า..

ใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน IC License ผู้ที่มีใบอนุญาตสำหรับแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เป็น ใบอนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. มอบให้ และจะต้องได้รับความเห็นชอบเป็น IC จาก ก.ล.ต. ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่จากต้นสังกัดที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เรียกได้ว่าเป็นใบเบิกทางสำหรับอาชีพทางการเงินเลยก็ว่าได้ ผู้แนะนำจะต้องมีความรู้และการแนะนำที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือและความไว้ใจในการใช้บริการ
จึงต้องมีการสอบเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถในการแนะนำการลงทุนหรือ IC license เพื่อชี้วัดถึงคุณสมบัติของการเป็นผู้แนะนำการลงทุน
ในมุมของใบอนุญาต IC License และการประกอบอาชีพต่าง ๆ ตัวใบอนุญาต IC License นี้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย อย่างเช่น ผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการแนะนำการลงทุน เช่น มาร์เก็ตติ้งหุ้น ผู้ที่เสนอขายหน่วยลงทุนกองทุนรวม พันธบัตร หรือ หุ้นกู้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของพนักงานธนาคาร หรือตัวแทนอิสระ รวมไปถึงตัวแทนประกันชีวิตที่นำเสนอประกันควบกับการลงทุนก็ล้วนนำไปใช้ได้ทั้งหมด
การสอบ IC Licence จึงเป็นที่นิยมมาก มีศูนย์สอบที่หลากหลาย และมีจำนวนผู้สอบที่ค่อนข้างเยอะอยู่เสมอ  ทั้งนี้ทั้งนั้น IC License ก็มีใบอนุญาตและการแนะนำที่ต่างกันไปถึง 4 ประเภท ให้ผู้สอบได้เลือกสอบตามความต้องการนำไปใช้

ประเภทผู้แนะนำการลงทุน

IC license ที่แบ่งผู้แนะนำการลงทุนออกเป็น 4 ประเภท คือ
  • ประเภทที่ 1 IC Plain ผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป แนะนำผลิตภัณฑ์ ตราสารทั่วไปที่ไม่มีความซับซ้อน
  • ประเภทที่ 2 IC Complex 3 ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 3 แนะนำผลิตภัณฑ์ตราสารทั่วไปไม่ซับซ้อน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตราสารซับซ้อนหรือความเสี่ยงสูง
  • ประเภทที่ 3 IC Complex 2 ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 2 แนะนำผลิตภัณฑ์ตราสารทั่วไปไม่ซับซ้อน ตราสารหนี้และกองทุนรวมที่มีความซับซ้อนหรือความเสี่ยงสูง
  • ประเภทที่ 4 IC Complex 1 ผู้แนะนำการลงทุนตราสารซับซ้อนประเภท 1 แนะนำผลิตภัณฑ์ตราสารทั่วไปไม่ซับซ้อน และตราสารซับซ้อนความเสี่ยงสูง สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตราสารหนี้และกองทุนรวม
ประเภทนักลงทุนต่างกัน หลักสูตรในการสอบก็ต่างกันไปด้วย การสอบมีด้วยกัน 3 Paper คือ
  • P1  ผลิตภัณฑ์ที่ ไม่มีความซับซ้อน
  • P2 ตราสารหนี้และกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน
  • P3 สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
IC license ในประเภทที่ต่างกันก็จะมีการสอบที่ต่างกันด้วย การจะได้ IC license ที่เราต้องการจะสอบ ต้องเลือกสอบให้ตรงกับที่เราจะนำ License ไปใช้แนะนำผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
หลักสูตรที่ต้องสอบใน 4 ประเภทผู้แนะนำการลงทุนจะมีดังนี้
  • IC plain ต้องส้อบผ่านหลักสูตร P1
  • IC complex 3 ต้องสอบผ่าน  P1 และ P3
  • IC complex 2 ต้องสอบผ่าน  P1 และ P2
  • IC complex 1 ต้องสอบผ่าน  P1, P2  และ P3
สอบ IC Complex 1  จะครอบคลุมที่สุด สามารถเป็นผู้แนะนำได้ทุกประเภท

ประเภทผู้แนะนำผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่ไม่มีความซับซ้อน / Plain Product

ประเภทผู้แนะนำผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อน / Complex Product

ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วจะเป็นว่า ทุก License ที่ต้องสอบ จะต้องสอบหลักสูตร P1 ทั้งหมด ซึ่งหลักสูตร P1 เนื้อหาจะค่อนข้างเยอะ เพราะนำมาจากหนังสือ 3 เล่มด้วยกัน ซึ่งส่วนนี้อาจจะต้องเตรียมตัวมากหน่อยสำหรับการสอบ เพราะการสอบนี้จะมี 2 ส่วนการให้คะแนนในส่วนที่ต้องทำให้ได้เยอะหน่อย คือส่วนของ จรรยาบรรณ 20 ข้อ ที่บังคับผ่านที่ 70% เท่ากับว่าเราจะต้องทำข้อสอบในส่วนจรรยาบรรณให้ผ่าน 14 ข้อเป็นอย่างต่ำ เพราะต่อให้ทำคะแนนได้แต็มในพาร์ทเนื้อหาอื่น ๆ แต่ไม่ผ่านจรรยาบรรณ จะถือว่าสอบตกทันที ซึ่งส่วนนี้ถือว่าสำคัญมาก ๆ ซึ่ง หลักสูตรที่ต้องตั้งใจอ่านและใช้เวลาที่สุด คือ หลักสูตร P1
แชร์เคล็ดลับในการสอบ IC License ฉบับ TRD
The Richest Duck ขอแชร์เคล็ดลับเพิ่มเติมกับทุกคนก่อนเลยว่า หากตั้งใจจะสอบใบอนุญาตเป็น IC Complex 1 อยู่แล้ว และต้องสอบทุกหลักสูตร ให้เลือกสอบ P2 กับ P3 ก่อน จะได้เห็นแนวข้อสอบต่าง ๆ ในส่วนนี้ก่อนนี้ แล้วก็โอกาสผ่านค่อนข้างจะง่ายกว่า P1 ผ่าน P2 P3 มาก่อนจะได้มุ่งมั่นไปที่ P1 ตัวเดียว ดีกว่าเลือกสอบ P1 แล้วไม่ผ่าน เราจะวนอยู่ที่ P1 ทั้งๆที่จริง ๆ ชุดอื่นอาจจะง่ายกว่า ให้เริ่มจากจุดที่ผ่านง่ายกว่าก่อนจะได้เป็นกำลังใจให้ผ่านส่วนอื่น ๆ ด้วย แล้วมาโฟกัสในส่วนที่ยากขึ้นทีหลัง 
  • ภาพแสดงรายละเอียดการสอบ หลักสูตร P1 ค่าธรรมเนียม หนังสือ สัดส่วนเรื่องในการสอบและการให้คะแนน
  • ภาพรายละเอียดการสอบหลักสตูร P2 และ P3 ค่าธรรมเนียม หนังสือ สัดส่วนเรื่องในการสอบและการให้คะแนน
ข้อแนะนำในการอ่านสอบแบบไม่ต้องติว
ในทุกหลักสูตรการสอบ IC License ทั้งหมด มีเนื้อหาในหนังสือ ซึ่งเราสามารถเลือกอ่านเองได้ ทริคที่สำคัญที่แบ่งปันโดยคุณกั๊ก TRD ของเราเนี่ย คือการทดลองทำข้อสอบก่อนอ่าน 1 ครั้ง เพื่อให้เห็นแนวข้อสอบต่าง ๆ (มีข้อสอบเก่าให้ดาวน์โหลด สามารถโหลดมาทดลองทำได้เลย) หลังจากทดลองทำข้อสอบก่อนอ่านเพื้อหาเนี่ย ตรวจข้อสอบและรีเช็คคะแนนเพื่อทำความเข้าใจว่าพื้นฐานเดิมเราทำได้แค่ไหน และควรอ่าานส่วนไหนเพิ่มเติมอีก จดในหัวข้อ คำถามที่สงสัยและหลังจากนั้นเริ่มอ่านหนังสืออย่างจริงจังและทำความเข้าใจ
หลังจากอ่านหนังสือจบ ทดลองทำข้อสอบอีกครั้ง และดูคะแนนที่ได้ หากยังไม่เข้าใจก็ทบทวนข้อนั้นซ้ำ ๆ ทำแบบนี้จำเข้าใจรับรองผ่านได้แบบไม่ต้องติว แล้วก็น่าจะช่วยลดระยะเวลาการอ่านได้เยอะด้วย 

การขึ้นทะเบียนใบอนุญาต IC License และการขอต่อใบอนุญาต IC License

หลังจากสอบผ่านแล้วเราก็สามารถขอขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาต IC License ประเภทต่าง ๆได้เลย โดยสามารถยื่นเอกสารขอเป็นผู้แนะนำการลงทุน (ขอความเห็นชอบและพิจารณาคุณสมบัติ) ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
  • กรอกแบบคำขอที่ สำนักงาน ก.ล.ต. www.sec.or.th (กรอกข้อมูลผ่านระบบ ORAP)
  • ยื่นแบบคำขอ เอกสารประกอบ และชำระค่าธรรมเนียม 2,140 บาท (รวม VAT)
  • รอสำนักงาน ก.ล.ต. พิจารณาความเห็นชอบ (ภายใน 5-7 วันทำการ)
  • ประกาศผลสอบ โดยสำนักงาน ก.ล.ต. จะแจ้งผลผ่านทาง website หากผ่านการพิจารณาจะมีผลแจ้งบนเว็บทันที
ใบอนุญาต มีอายุ 2 ปี ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบ และให้นับระยะเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ของปีถัดไป เช่น ได้รับความเห็นชอบ วันที่ 1 พ.ค. 2565 อายุสิ้นสุดถึง 31 ธ.ค. 2567 
ในส่วนของการต่ออายุ การต่ออายุใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน ใบอนุญาต IC License แต่ละประเภทนั้น มีอายุการให้ความเห็นชอบ 2 ปี ผู้แนะนำการลงทุนต้องดำเนินการดังต่อไปนี้เพื่อต่ออายุใบอนุญาต
เข้ารับการอบรมหรือเข้าร่วมกิจกรรม หรือศึกษาเพิ่มเติม (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เพื่อต่ออายุใบอนุญาต ซึ่งถือเป็นการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทุกๆ 2 ปี ดังนี้
การเข้ารับการอบรม 15 ชม.
  • ความรู้ที่เกี่ยวกับกฎระเบียบ จรรยาบรรณ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ชม.
  • เนื้อหาความรู้ด้านหลักทรัพย์ / ด้านอนุพันธ์ จำนวน 12 ชม.
  • (เฉพาะผู้แนะนำสัญญาฯ ต้องอบรมความรู้ด้านสัญญาฯ 6 ชม.)
  • เป็นวิทยากร / อาจารย์ในหลักสูตรที่ สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นชอบ 15 ชม.
  • สอบผ่าน CISA หรือ CFA ที่ระดับสูง
การยื่นขอต่อออายุใบอนุญาต
  • กรอกแบบคำขอต่ออายุฯ ที่ สำนักงาน ก.ล.ต. www.sec.or.th (กรอกข้อมูลผ่านระบบ ORAP)
  • พิมพ์แบบคำขอ และ ใบแจ้งค่าธรรมเนียม
  • ชำระค่าธรรมเนียมคำขอต่ออายุ 1,070 บาท (รวม VAT)
ทั้งนี้ ระบบการต่ออายุใบอนุญาต สำนักงาน ก.ล.ต. จะเปิดให้กรอกข้อมูลได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. – 15 ธ.ค. ของทุกปี 
บทความทั้งหมดนี้ ก็ถือว่า จบขั้นตอนของ IC License กันไปคร่าว ๆ แล้ว ทั้งหมดนี้ก็หวังว่าจะให้ความเข้าใจกับผู้ที่สนใจสอบได้ประมาณนึง และน่าจะเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพหรือศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น เพราะใบอนุญาตนี้สามารถนำไปประกอบอาชีพอย่างผู้แนะนำผลิตภัณฑ์อิสระ และผู้แนะนำผลิตภัณณ์ในสถาบันการเงินการลงทุนต่าง ๆ มากมาย เป็นจุดเริ่มต้นแรกของอาชีพทางการเงินที่ควรต้องมี เพราะสามารถต่อยอดจากใบอนุญาต เพื่อเติบโตไปยังคุณวุฒิที่สูงกว่าได้
สำหรับบทความ IC License หวังว่าจะเป็นประโยชน์และให้ความรู้เพิ่มเติมสำหรับคนที่กำลังสนใจนะคะ ถ้าใครอยากไปต่อที่ IP License หรือ คุณวุฒิ CFP ต่อจากนี้อีก พบกับพวกเรา The Richest Duck ในบทความถัดไปได้เลย
ขอบคุณที่ติดตาม

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *